วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปผลการเรียนสัปดาห์ที่ 2 26/08/58

สรุปผลการเรียนสัปดาห์ที่ 2 26/08/58

*สัปดาห์หน้ารายงานหน้าชั้นเรียนแปลสรุปเอกสารข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องบรรจุภัณฑ์ สัปดาห์ละ 3 คนหาสืบค้นแปลข่าวได้ที่เว็บไซต์ www.thedieline.com
- อธิบายวิจารณ์,วิเคราะห์ผลงานมหกรรม 
- โหลดฟอนต์ ฟรีได้ www.dbfont.biz - www.siamtype.com  (เซียมไท้) www.font.com
 - หาโหลดรูปพื้นหลังฟรีได้ที่เว็ปไซต์ flickr  
- การออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้องมีเครื่องหมายการค้า,คิวอาร์โค้ด Genarator
* สัปดาห์หน้า ถ่ายรูปสินค้าOTOPสมุนไพร ทุกมุม.ทุกด้าน,สืบค้นข้อมูล,ขึ้นแบบฟอร์มSkach up และใช้โปรแกรม boxgen ดูตัวอย่างกรอบแนวความคิด 3 ส.
* งานกลุ่ม Present Mood Board ขนาด20x30นิ้ว ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสอบถามผู้ประกอบการตัวจังหวัดที่ได้รับมอบหมายแต่ละกลุ่มแม่บ้าน

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปความหมายตามแนวคิดและข้อมูลอิางอิงเป็นของคำว่า การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

สรุปตามแนวคิดได้ว่า 

ก็คือ   เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่เป็นด้านศิลปะอย่างหนึ่ง รวมในเรื่องของการใช้แนวคิด สร้างสรรค์ กำหนดรูปแบบ เทคโนโลยีต่างๆ ในประโยชน์ใช้สอย หีบห่อสินค้าเพื่อไม่ให้เสียหายและเป็นการเพิ่มคุณค่าในสินค้าอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาในการบรรจุภัณฑ์สินค้าให้มีความสะดวก อำนวยยิ่งขึ้นและการขนส่งที่รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อให้ไม่เสียเวลาและป้องกันค่าเสียหายของสินค้าให้ดียิ่งขึ้น 

การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

 หมายถึง การสร้างสรรค์ลักษณะส่วนประกอบภายนอกของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร สื่อความหมาย ความเข้าใจ (To Communicate) ในอันที่จะให้ผลทางด้านจิตวิทยา(Psychological Effects)ต่อผู้บริโภค และอาศัยหลักศิลปะการจัดภาพให้เกิดความประสานกลมกลืนกันอย่างสวยงาม ตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้

1. กระบวนการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์

       ในกระบวนการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ผู้วิจัยต้องอาศัยความรู้และข้อมูลจากหลายด้านการอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ชำนาญการบรรจุ (PACKAGING SPECIALISTS) หลาย ๆ ฝ่ายมาร่วมปรึกษาและพิจารณาตัดสินใจ ซึ่งอิงทฤษฏีของ ปุ่น คงเจริญเกียรติและสมพร คงเจริญเกียรติ (2542:71-83) โดยที่ผู้วิจัยจะกระทำหน้าที่เป็นผู้สร้างภาพพจน์ (THE IMAGERY MAKER) จากข้อมูลต่าง ๆ ให้ปรากฏเป็นรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์จริง ลำดับขั้นตอนของการดำเนินงาน นับตั้งแต่ตอนเริ่มต้น จนกระทั่งสิ้นสุดจนได้ผลงานออกมาดังต่อไปนี้ เช่น
1. กำหนดนโยบายหรือวางแผนยุทธศาสตร์ (POLICY PERMULATION OR ATRATEGIC PLANNING) เช่น ตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการผลิต เงินทุนงบประมาณ การจัดการ และการกำหนดสถานะ (SITUATION) ของบรรจุภัณฑ์ ในส่วนนี้ทางบริษัทแด่ชีวิตจะเป็นผู้กำหนด
2. การศึกษาและการวิจัยเบื้องต้น (PRELIMINARY RESEARCH)                                     ได้แก่ การศึกษาข้อมูลหลักการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิศวกรรมทางการผลิต ตลอดจนการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องสอดคล้องกันกับการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์
3. การศึกษาถึงความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์ ( FEASIBILITY STUDY )                                     เมื่อได้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ แล้วก็เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์ด้วยการสเก็ต (SKETCH DESING) ภาพ แสดงถึงรูปร่างลักษณะ และส่วนประกอบของโครงสร้าง 2-3 มิติหรืออาจใช้วิธีการอื่นๆ ขึ้นรูปเป็นลักษณะ 3 มิติ ก็สามารถกระทำได้ ในขั้นตอนนี้จึงเป็นการเสนอแนวความคิดสร้างสรรค์ขั้นต้นหลาย ๆ แบบ (PRELIMINARY IDFAS) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในเทคนิควิธีการบรรจุ และการคำนวณเบื้องต้น ตลอดจนเงินทุนงบประมาณดำเนินการ และเพื่อการพิจารณาคัดเลือกแบบร่างไว้เพื่อพัฒนาให้สมบูรณ์ในขั้นตอนต่อไป
4. การพัฒนาและแก้ไขแบบ ( DESIGN REFINEMENT )                                                                 ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะต้องขยายรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ (DETAILED DESIGN ) ของแบบร่างให้ทราบอย่างละเอียดโดยเตรียมเอกสารหรือข้อมูลประกอบ มีการกำหนดเทคนิคและวิธีการผลิต การบรรจุ วัสดุ การประมาณราคา ตลอดจนการทดสอบทดลองบรรจุ เพื่อหารูปร่าง รูปทรงหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการด้วยการสร้างรูปจำลองง่าย ๆ(MOCK UP)ขึ้นมา ดังนั้นผู้ออกแบบจึงต้องจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อการนำเสนอ(PRESENTATION) ต่อลูกค้าและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องให้เกิดความเข้าใจ เพื่อพิจารณาให้ความคิดเห็นสนับสนุนยอมรับหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเช่น การทำแบบจำลองโครงสร้างเพื่อศึกษาถึงวิธีการบรรจุ และหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ก่อนการสร้างแบบเหมือนจริง
5. การพัฒนาต้นแบบจริง (PROTOTYPE DEVELOPMENT)                                                        เมื่อแบบโครงสร้างได้รับการแก้ไขและพัฒนา ผ่านการยอมรับแล้ว ลำดับต่อมาต้องทำหน้าที่เขียนแบบ (MECHANICAL DRAWING) เพื่อกำหนดขนาด รูปร่าง และสัดส่วนจริงด้วย การเขียนภาพประกอบแสดงรายละเอียดของรูปแบบแปลน (PLAN) รูปด้านต่างๆ(ELEVATIONS)ทัศนียภาพ(PERSPECTIVE) หรือภาพแสดงการประกอบ (ASSEMBLY) ของส่วนประกอบต่าง ๆมีการกำหนดมาตราส่วน (SCALE) บอกชนิดและประเภทวัสดุที่ใช้มีข้อความ คำสั่ง ที่สื่อสารความเข้าใจกันได้ในขบวนการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ของจริง แต่การที่จะได้มาซึ่งรายละเอียดเพื่อนำไปผลิตจริงดังกล่าวนั้น ผู้ออกแบบจะต้องสร้างต้นแบบจำลองที่สมบูรณ์ (PROTOTYPE) ขึ้นมาก่อนเพื่อวิเคราะห์ (ANALYSIS) โครงสร้างและจำแนกแยกแยะส่วนประกอบต่าง ๆ ออกมาศึกษา ดังนั้น PROTOTYPE ที่จัดทำขึ้นมาในขั้นนี้จึงควรสร้างด้วยวัสดุที่สามารถให้ลักษณะ และรายละเอียดใกล้เคียงกับบรรจุภัณฑ์ของจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้เช่นอาจจะทำด้วยปูนพลาสเตอร์ ดินเหนียว กระดาษ ฯลฯ และในขั้นนี้ การทดลองออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ ควรได้รับการพิจารณมร่วมกันอย่างใกล้ชิคกับลักษณะของโครงสร้างเพื่อสามารถนำผลงานในขั้นนี้มาคัดเลือกพิจารณาความมีประสิทธภาพของรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์
6. การผลิตจริง (production) 
  สำหรับขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายผลิตในโรงงานที่จะต้องดำเนินการตามแบบแปลนที่นักออกแบบให้ไว้ ซึ่งทางฝ่ายผลิตจะต้องจัดเตรียมแบบแม่พิมพ์ของบรรจุภัณฑ์ให้เป็นไปตามกำหนดและจะต้องสร้างบรรจุภัณฑ์จริงออกมาจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นตัวอย่าง(PRE-PRODUCTION PROTOTYPES) สำหรับการทดสอบทดลองและวิเคราะห์เป็นครั้งสุดท้าย หากพบว่ามีข้อบกพร่องควรรีบดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงดำเนินการผลิต เพื่อนำไปบรรจุและจำหน่ายในลำดับต่อไป

ความหมายของการออกแบบกราฟิก

นิยามความหมายการออกแบบกราฟิก

1. ความหมายของการออกแบบกราฟิก (Definition of Graphic Design)

       คำว่าการออกแบบ (Design) ก็มีความหมายเป็นหลายนัยเช่นกัน จากรายศัพท์ลาตินคำว่า Design ซึ่งมาจาก Designare หมายถึงกำหนดออกมา กะหรือขีดหมายไว้ เป้าหมายที่จะแสดงออกซึ่งหมายถึงสิ่งที่อยู่ในอำนาจความคิด (Conscious) อันอาจเป็นโครงการ     รูปแบบหรือแผนผังที่ศิลปินกำหนดขึ้นด้วยการจัดท่าทางถ้อยคำ เส้น สี รูปแบบ โครงสร้างและวัสดุต่างๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ทางความงามหรือสุนทรียภาพ (Aesthetic Principle) ประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ขึ้นจากสิ่งที่ง่ายที่สุด ไปจนสิ่งที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนเต็มที่

ความหมายที่ 1 กระบวนการออกแบบต่างๆ ในสิ่งที่เป็นวัสดุ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาวเท่านั้น เช่น งานออกแบบบ้านของสถาปนิกในการเขียนแบบ ตัวภาพและรายละเอียดบนแปลนบ้านเรียกว่าเป็นงานกราฟิกการเขียนภาพเหมือนจริงของจิตรกร การออกแบบภาพโฆษณาของนักออกแบบ การออกแบบฉลาก หรือลวดลายหรือภาพประกอบ หรือตัวอักษรที่ปรากฏบนฉลากสินค้า บนตัวสินค้าหรือบนภาชนะบรรจุสินค้า ฯลฯ เป็นต้น

ความหมายที่2 ภาพลายเส้นหรือภาพที่เกิดจากการวัดจากการขีดเขียนที่แสดงด้วยตารางหรือแผนภาพ การวาดเขียนการระบายสี การสร้างงานศิลปะบนพื้นระนาบ

ความหมายที่ 3 สื่อเป็นขั้นตอนหนึ่งในการสร้างสรรค์งานที่เกี่ยวข้อง กับกระบวนการงานกราฟิก งานทางด้านสิ่งพิมพ์ โดยมีหลักการคิดและวิธีการดำเนินการที่ต้องอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการ สื่อความหมาย  หลักการทางศิลปะประยุกต์และทฤษฎีการรับรู้ทางจิตวิทยา การออกแบบงานกราฟิกจึง
ต้องกระทำอยู่บนพื้นฐานขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
 การออกแบบงานกราฟิกและสื่อ ควรจะต้องคำนึงถึงหลักการ ดังนี้

          1.  ความมีเอกภาพ (unity)
          2.  ความกลมกลืน (harmony)
          3.  ความมีสัดส่วนที่สวยงาม (propertion) 
          4.  ความมีสมดุล  (balance)
          5.  ความมีจุดเด่น (emphasis)

    ในการออกแบบงานกราฟิก ควรมีการวางแผนและกำหนดขั้นตอนการทำงานให้เป็นระบบ เพื่อจะทำให้งานที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพดี โดยคำนึงถึงขั้นตอนที่ใช้ในการผลิตและการออกแบบ ดังนี้
          1. ขั้นการคิด ต้องคิดว่า จะทำอะไร ทำเพื่อใคร ทำอย่างไร และการออกแบบอย่างไร                     2. ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลเป็นการเสาะหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุดรวมถึงวัสดุ                    อุปกรณ์ด้วย                                                                                                                           3. ขั้นการร่างหรือสร้างหุ่นจำลองโดยการเขียนภาพคร่าวๆหลายๆภาพแล้วเลือกเอาภาพที่ดี            ที่สุด

          4. ขั้นการลงมือสร้างงาน เป็นการขยายผลงานด้วยวัสดุและวิธีการที่เตรียมไว้

          5. หลักที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับการใช้สี

       
บรรทัดฐานในการออกแบบ

......1. การตอบสนองประโยชน์ใช้สอย (Function) เป็นข้อสำคัญมากในการออกแบบทั้งหมด ในงานออกแบบ กราฟิกนั้น ประโยชน์ใช้สอยมีอิทธิพลกับงานที่เราออกแบบ เช่น งานออกแบบหนังสือ ต้องอ่านง่าย ตัวหนังสือชัดเจนไม่วาง เกะกะ กันไปซะหมด หรืองานออกแบบเว็บไซต์ถึงจะสวยอย่างไร   แต่ถ้าโหลดช้าทำให้ผู้ใช้งานต้องรอนาน ก็ไม่นับว่าเป็นงาน ออกแบบเว็บไซต์ที่ดี หรืองานออกแบบซีดีรอม ถ้าปุ่มที่มีไว้สำหรับกดไปยังส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหานั้นวางเรียงอย่าง กระจัดกระจาย ทุกครั้งที่ผ้าใช้งานจะใช้ก็ต้องกวาดตามองหาอยู่ตลอด อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นการออกแบบที่ไม่สนอง ต่อประโยชน์ใช้สอย เป็นงานออกแบบไม่ดี ดังนั้นนักออกแบบจึงต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก ในการออกแบบเสมอ 

......2. ความสวยงามพึงพอใจ (Aesthetic) ในงานที่มีประโยชน์ใช้สอยดีพอ ๆ กัน ความงามจะเป็นเกณฑ์ตัดสิน คุณค่าของงาน โดยเฉพาะงานออกแบบกราฟิก ซึ่งถือเป็นงานอกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยน้อยกว่างานออกแบบด้านอื่น อย่าง งานออกแบบผลิตภัณฑ์ งานออกแบบสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ฯลฯ ความสวยงามจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีอิทธิพลในงาน ออกแบบกราฟิกอย่างมาก 


ความสวยงามที่สามารถประโยชน์ใช้สอยได้ด้านงานกราฟิกได้ เช่น โปสเตอรและงานประเภทอื่นๆได้
ภาพอ้างอิงจาก http://webneel.com/sites/default/files/images/project/creative-unique-graphic-design-by-rik-oostenbroek%20(12).jpg
......3. การสื่อความหมาย (Meaning ) เนื่องจากงานศิลปะนั้นจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมันสื่อความหมายออกมาได้ งาน กราฟิกก็คืองานศิลปะเช่นกัน การสื่อความหมายจึงเป็นสิ่งที่นักออกแบบขาดเสียไม่ได้ในการออกแบบ ต่อให้งานที่ได้สวยงาม อย่างไรแต่ไม่สามารถตอบโจทย์ของงานออกแบบ หรือสื่อสิ่งที่ผู้ ออกแบบคิดเอาไว้ได้ งานกราฟิกนั้นก็จะมีคุณค่าลดน้อย ลงไป

แหล่งข้อมูลอ้างอิง https://www.l3nr.org/posts/92622

การออกแบบกราฟิกสื่อความหมายนาฬิกาแต่ละเรือน ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าวัยรุ่น
ภาพอ้างอิงจาก http://www.spu.ac.th/sdm/files/2011/01/SwatchDesign_02.jpg










ความหมายของการบรรจุภัณฑ์


ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์

กล่าวนิยามความหมายการบรรจุภัณฑ์ สรุปไว้ดังนี้

ความหมายที่ 1  งานเทคนิคที่ต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ในการที่จะออกแบบและผลิตหีบห่อ ให้มีความเหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมาให้คุ้มครองสินค้าตลอดจนประโยชน์ใช้สอย

ความหมายที่ 2 ผลรวมของศาสตร์,ศิลป์และเทคโนโลยีของการออกแบบ การผลิตบรรจุภัณฑ์ของสินค้า เพื่อการขนส่งและการขายโดยเสียค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม


ความหมายที่ 3 สิ่งที่ทำหน้าที่รองรับหรือหุ้มบรรจุภัณฑ์ เพื่อทำป้องกันผลิตภัณฑ์จากความเสียหายต่างๆ ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการขนส่งและการเก็บรักษา ช่วยกระตุ้นการซื้อตลอดจนแจ้งรายละเอียดของผลิตภัณฑ์

อ้างอิงจาก http://www.mew6.com/composer/package/package_0.php
เป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดนี้เป็น"ไอศครีมข้าว"ได้แนวคิดจากข้าวกล้องงอกหอมมะลิแดงเชื่อมโยงกับวิถีการกินของคนไทยในสมัยก่อนที่นิยมพก "ข้าวห่อ" ติดตัวออกไปไร่ ทำสวน โดยผู้ออกแบบนำไปประยุกต์ใช้งานออกแบบ
อ้างอิงจากภาพ http://www.diischool.com/wp-content/uploads/2012/08/package-design9.jpg



บรรจุภัณฑ์ยี่ห้อ Breakfast Aid ได้แรงบรรดาลใจจากกล่องปิคนิค ภาพประกอบอ้างอิงจาก http://cdn.tripwiremagazine.com/wp-content/uploads/2010/12/breakfast_aid_by_crayolalala.jpg


1. ประเภทบรรจุภัณฑ์แบ่งตามวิธีบรรจุและวิธีการขนถ่าย สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท
1.1    บรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วย (Individual Package) คือ บรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสอยู่กับผลิตภัณฑ์ชั้นแรก เป็นสิ่งที่บรรจุผลิตภัณฑ์เอาไว้เฉพาะหน่วย โดยมีวัตถุประสงค์ขั้นแรกคือ เพิ่มคุณค่าในเชิงพาณิชย์ เช่น การกำหนดให้มีลักษณะพิเศษเฉพาะหรือทำให้มีรูปร่างที่เหมาะแก่การจับถือ และอำนวยความสะดวกต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ภายใน พร้อมทั้งทำหน้าที่ให้ความปกป้องแก่ผลิตภัณฑ์โดยตรงอีกด้วย
เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะกราฟิกสวยงาม และส่วนนี้เองที่เราสามารถใส่ความเป็นไทยเข้าไปได้อย่างเต็มที่
เช่น  ลายไทย  กราฟิกพื้นหลังรูปวัดวาอาราม แบบเฉพาะหน่วย 
(Individual Package)
ภาพอ้างอิงจาก http://asianpackaging.org/main/files/u1/img_2011_116_cd2.jpg
1.2. บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (Inner Package) คือ บรรจุภัณฑ์ที่อยู่ถัดออกมาเป็นชั้นที่สอง  มีหน้าที่รวบรวมบรรจุภัณฑ์ขั้นแรกเข้าไว้ด้วยกันเป็นชุด ในการจำหน่ายรวมตั้งแต่ 2 – 24 ชิ้นขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ขั้นแรก คือ การป้องกันรักษาผลิตภัณฑ์จากน้ำ ความชื้น ความร้อน แสง แรงกระทบกระเทือน และอำนวยความสะดวกแก่การขายปลีกย่อย เป็นต้น ตัวอย่างของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ ได้แก่ กล่องกระดาษแข็งทีบรรจุเครื่องดื่มจำนวน ฝา 1 โหล , สบู่ 1 โหล เป็นต้น
บรรจุภัณฑ์ชั้นใน(Inner Package) แบบกล่องลุ่มไข่ไก่ 1 โหล
1.3.   บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกสุด (Out Package) คือ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นหน่วยรวมขนาดใหญ่ที่ใช้ในการขนส่ง โดยปกติแล้วผู้ซื้อจะไม่ได้เห็นบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้มากนัก    เนื่องจากทำหน้าที่ ป้องกันผลิตภัณฑ์ในระหว่างการขนส่งเท่านั้น ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ ได้แก่ หีบ ไม้ ลัง กล่องกระดาษขนาดใหญ่ ที่บรรจุสินค้าไว้ภายใน  ภายนอกจะบอกเพียงข้อมูลที่จำเป็นต่อการขนส่ง เท่านั้น เช่น รหัสสินค้า (Code) เลขที่ (Number) ตราสินค้า สถานที่ส่ง เป็นต้น

2. การแบ่งประเภทบรรจุภัณฑ์ตามวัตถุประสงค์ของการใช้
บรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีก (Consumer Package) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคซื้อไปใช้ไป อาจมีชั้นเดียวหรือหลายชั้นก็ได้ ซึ่งอาจเป็น Primary Package หรือ Secondary Package ก็ได้
บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shopping หรือ Transportation Package) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้รองรับหรือห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นทุติยภูมิ ทำหน้าที่รวบรวมเอาบรรจุภัณฑ์ขายปลีกเข้าด้วยกัน ให้เป็นหน่วยใหญ่ เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการเก็บรักษา และการขนส่ง เช่น กล่องกระดาษลูกฟูกที่ใช้บรรจุยาสีฟัน กล่องละ 3 โหล
3. การแบ่งบรรจุภัณฑ์ตามความคงรูป
3.1. บรรจุภัณฑ์ประเภทรูปทรงแข็งตัว (Rigid Forms) ได้แก่ เครื่องแก้ว (Glass Ware) เซรามิคส์ (Ceramic) พลาสติกจำพวก Thermosetting ขวดพลาสติก ส่วนมากเป็นพลาสติกฉีด เครื่องปั้นดินเผา ไม้ และโลหะ มีคุณสมบัติแข็งแกร่งทนทานเอื้ออำนวยต่อการใช้งาน และป้องกันผลิตภัณฑ์จากสภาพแวดล้อมภายนอกได้ดี
3.2. บรรจุภัณฑ์ประเภทรูปทรงกึ่งแข็งตัว (Semirigid Forms) ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกอ่อน กระดาษแข็งและอลูมิเนียมบาง คุณสมบัติทั้งด้านราคา น้ำหนักและการป้องกันผลิตภัณฑ์จะอยู่ในระดับปานกลาง
3.3. บรรจุภัณฑ์ประเภทรูปทรงยืดหยุ่น (Flexible Forms) ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุอ่อนตัว มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ได้รับความนิยมสูงมากเนื่องจากมีราคาถูก ( หากใช้ในปริมาณมากและระยะเวลานาน ) น้ำหนักน้อย มีรูปแบบและโครงสร้างมากมาย
ภาพประกอบการออกแบบบรรจุภัณฑ์ประเภทรูปแบบและโครงสร้างต่างๆ


เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ARTD3302ปิยะวุฒิ ภมรสูตร
ศิลปกรรม สาขาวิชาศิลปกรรมออกแบบนิเทศศิลป์ กลุ่ม201
เลขที่ 7 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม